วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

บทนำ
            ปัจจุบันประเทศต่างๆ ไดให้ความสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเป็นอันมาก  ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดทั้งความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อคมนาคม  ทำให้ประเทศต่างๆมีความใกล้ชิดกัน  ต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น  จึงเกิดความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารด้านต่างๆภาษาอังกฤษนับว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่สำคัญและแพร่หลายที่สุด(สุมิตรา  อังวัฒนกุล, 2537)  สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการใช้ชีวิตและการพัฒนาในสังคมไทย คนที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดี จะมีโอกาสในสังคมและมีโอกาสที่จะพัฒนาในสังคมไทย คนที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีจะมีโอกาสในสังคมและมีโอกาสที่จะพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าไปด้วยพร้อมกัน  การเรียนรู้ภาษาไทยที่เข้มข้น จึงควรควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างจริงจังโดยเฉพาะการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนที่สำคัญของการเรียนในระดับต่อไป การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีทางด้านความรู้ และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่เด็กไทย
            กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นในโรงเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา โดยเริ่มใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2539 โดยจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป และถึงแม้ว่าวิชาภาษาอังกฤษจะเป็นเพียงวิชาเลือกของกลุ่มประสบการณ์พิเศษ แต่บทบาทและความสำคัญของภาษาอังกฤษต่อการดำรงชีวิต และค่านิยมของสังคม มีแนวโน้มจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จากความสำคัญของภาษาอังกฤษดังกล่าว จึงมีจุดเน้นในการมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ตามวัยและศักยภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะตามความคาดหวังของหลักสูตร จากสภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ผ่านมาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจนัก  ทั้งนี้เพราะนักเรียนได้เรียนในสิ่งที่ไกลตัวและไม่สามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน  ดังนั้นหลักสูตรภาษาอังกฤษจึงได้เปิดโอกาสได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่นตามเหตุการณ์และสภาพท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นสามารถพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนได้
            หลักสูตรท้องถิ่น  คือการประมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ  นอกจากนี้  วิชัย  วงษ์ใหญ่ (2525) กล่าวถึงหลักสูตรท้องถิ่นไว้ว่า คือ การนำเอาหลักสูตรแม่บทมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนนั้น สาระการเรียนจะสอดคล้องสัมพันธ์กับท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ใช่การเรียนรู้แบบรู้ไว้ใช่ว่า แต่เป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริงในชีวิต
            การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรกลางในระดับประถมศึกษาเป็นภาษาอังกฤษระดับต้น จำแนกได้ 3 ระดับ คือ (กรมวิชาการ, 2539)
            1. ระดับเตรียมความพร้อม (Preparatory Level) กำหนดให้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตลอดปีการศึกษา เป็นการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ภาษาตามแนวธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเรียนที่เน้นความสามารถด้านการฟังและพูดเป็นเบื้องต้น
            2. ระดับอ่านออกเขียนได้ (Literacy Level) กำหนดให้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ตลอดปีการศึกษา เป็นการเรียนการสอนทีผู้เรียนเริ่มเรียนรู้ระบบการเรียนการสะกดคำภาษาอังกฤษที่ฟัง พูดได้แล้วในระดับเตรียมความพร้อม
            3. ระดับมาตรฐานพื้นฐานเบื้องต้น (Beginner Fundamental Level) ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษหลัก 1-4 กำหนดให้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ตลอดปีการศึกษา เน้นการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามมารยาททางสังคมของการใช้ภาษา โดยมีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน   ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ได้กล่าวไว้ในหมวดที่ 3 มาตราที่ 15 ว่า การศึกษามีสามรูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบก็ได้ มาตรา 27 ได้กำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย 

I ปฏิบัติการ การวางแผนหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร

ข้อมูลพื้นฐาน
            การพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  โดยใช้แบบจำลองแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ( Ralph  W. Tyler)  โดย Tyler (1949) ได้กำหนดปัญหาพื้นฐาน และการสอนไว้ 4 ข้อ ดังนี้
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา  (Education Purposes) ที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุมีอะไรบ้าง
การที่จะบรรลุตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดนั้น จะต้องมีประสบการณ์ทางการศึกษา (Educational Experiences) อะไรบ้าง  ประสบการณ์ทางการศึกษาที่กำหนดนั้น  สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร   จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนได้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษานั้น ๆ แล้ว
จากคำถามทั้ง 4 ข้อ ซึ่งเป็นหลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร (Tyler ’s rationale)                    วิชัย วงษ์ใหญ่   ได้วิเคราะห์ออกมาเป็นแผนภาพดังนี้

แผนภาพที่ 1 หลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร

     หลักการและเหตุผลของไทเลอร์                                                           
         หลักสูตร                                                                                  องค์ประกอบ
  1.มีวัตถุประสงค์อะไรที่สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุ         1. กำหนดจุดประสงค์
  2.จะมีวิธีการคัดเลือกประสบการกาเรียนรู้อย่างไรจึงจะ         2. การเลือกเนื้อหาสาระและ             
      บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้                                         ประสบการณ์การเรียนรู้                                                                                                                                                   
  3. จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะทำให้               3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
      กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
  4. จะประเมินประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์               4. การประเมินผลการเรียนรู้
      การเรียนรู้อย่างไร           
 



(ที่มา : วิชัย  วงษ์ใหญ่, การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา.2554:9 )

โดยมีการศึกษาข้อมูล  ดังนี้
1.  เนื้อหาวิชา   
2.  จิตวิทยาการเรียนรู้
3.  ข้อมูลปรัชญาการศึกษา
4.  ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ         
     
                 
ภาพประกอบ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร  SU Model
ที่มา : รศ. ดร. สุเทพ อ่วมเจริญ

การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลองดังนี้
พื้นฐานแนวคิดและที่มาของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะได้รับการพัฒนามาจากสามเหลี่ยมมุมมนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามเหลี่ยมมุมมนมาจากการที่ มล. ปิ่น มาลากุล อธิการบดี และรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้ให้แนวนโยบายการพัฒนานักศึกษา มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ

1. จริยศึกษาเป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม
2. พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้
3. พลศึกษา  เป็นการฝึกหัดให้เป็นคนที่มีร่างกายสมบูรณ์
     แนวคิดดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณาถึงเป้าหมายการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น
1. คนดี
2. คนเก่ง
3. มีความสุข
เมื่อนำมาปรับใช้กับเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตรจะได้ว่า
1. เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้ (knowledge) คือ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง
2. เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน (learner) คือ มุ่งให้เป็นคนดี
3. เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม (society) คือ มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข
ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในที่นี้ประกอบไปด้วย 3
ด้าน คือ
1. ด้านปรัชญาการศึกษา
2. ด้านจิตวิทยา
3. ด้านสังคม
ซึ่งแต่ละด้านก็จะมีปรัชญาแต่ละชนิดกำกับ มีการพัฒนาจากรูปสามเหลี่ยมที่นำไปสู่การวางแผน
หลักสูตรการออกแบบหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  และการประเมินหลักสูตร  ดังภาพ SU Model ถือเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร มีขี้ตอนดังนี้
1. เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดัง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆ ว่า โลกแห่ง
การศึกษา และเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น  ความรู้ (Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน (Learner) เน้นคนดี และมุมล่างด้านขวามือ แสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม (Society)
2. ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาหลักสูตรในที่นี้จะระบุพื้นฐาน 3 ด้าน (ปรัชญา จิตวิทยา และสังคม) ลงในช่องว่างนอกรูปโดยกำหนดให้ ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญาด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
3. พิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา ได้แนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตร ที่มุ่งเน้น
ความรู้ (Knowledge) มาจากพื้นฐานปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) กับปรัชญานิรัตรนิยม (Parenialism) การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existialism)และ การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม (Society) มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เป็นต้น
4. กำหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน เพื่อแทนความหมายว่า ในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานอย่างน้อยสามด้านนี้(ด้านปรัชญา  ด้านจิตวิทยา  และด้านสังคม) จากนั้นลากเส้นตรงระหว่างจุดทั้งสามนี้ จะได้รูปสามเหลี่ยมเล็กๆ เกิดขึ้นรวม 4 รูป
5. พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร จากแนวคิดของไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
ออร์นสไตน์และฮันกิน โอลิวา วิชัย วงษ์ใหญ่ และนักพัฒนาหลักสูตรอื่นๆ นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมเล็กๆ  ชื่อสามเหลี่ยมเล็กทั้งสี่รูปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นดังนี้ (1) การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) (2) การออกแบบ (Curriculum Design) (3) การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) (4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้เรียนในด้านสี่เสาหลักการศึกษา
1. การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know)
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง (Learning to do)
3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Learning to Live Together)
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be)
วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก), (W) Riting (เขียนได้), และ (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ 
- Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการ
   แก้ปัญหา)
- Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
- Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
- Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะ
   ผู้นำ)
- Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทัน
  สื่อ)
- Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ทักษะที่สำคัญจำเป็นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่*)
การพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับสี่เสาหลักทางการศึกษาในสังคมปัจจุบันควรตอบสนอง
ทักษะที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
ทักษะการรู้ขั้นพื้นฐาน
1. การรู้หนังสือพื้นฐาน (Basic Literacy)
2. การรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Scientific Literacy)
3. การรู้ทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน (Technological Literacy)
4. การรู้ทางทัศนศิลป์พื้นฐาน (Visual Literacy)
5. การรู้ทางข่าวสารข้อมูลพื้นฐาน (Information Literacy)
6. การรู้ทางพหุวัฒนธรรมพื้นฐาน (Multi Cultural Literacy)
ทักษะด้านการคิดระดับสูง
7. ความคิดระดับสูงและมีเหตุผล (Higher – Order Thinking and Sound Reasoning)
8. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ทักษะด้านการมีวิธีการเรียนรู้
9. ความสามารถกำหนดเป้ าหมายของตนเอง (Self - Decision)
10. ความสนใจใฝ่ รู้ (Curiosity)
11. ความสามารถปรับตัวและจัดการกับสิ่งที่ซับซ้อน (Adaptability and Managing Complexity)
12. สามารถใช้เครื่องมือที่เป็นปัจจุบัน (Effective Use of Real – World Tools)
13. ความตระหนักและเข้าใจสังคมโลก (Global Awareness)
ทักษะด้านการมีทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะทางสังคม
14. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)
15. การทำงานเป็นทีม (Teaming and Collaboration)
16. ทักษะเข้าใจตนเองและผู้อื่น (Interpersonal Skills)
17. มีปฏิสัมพันธ์การสื่อสาร (Interactive Communication)
ทักษะด้านมีคุณลักษณะสมรรถนะที่พึงประสงค์
18. ความกล้าเสี่ยง (Risk Taking)
19. มีความรับผิดชอบ (Personal Responsibility)
20. เป็นพลเมืองดีและรับผิดชอบต่อสังคม (Social and Civic Responsibility)
21. การจัดลำดับ วางแผน และการบริหารมุ่งผล (Prioritizing Planning, and Managing for Results)
22. สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง (Ability to Produced Relevant, High – Quality Product)

 จิตวิทยาการเรียนรู้
ความรู้ทางด้านจิตวิทยามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรมาก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  การจัดการศึกษาควรจะมุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาของผู้เรียนทั้งในด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ  ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจะต้องอาศัยความรู้ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดเนื้อหาสาระประสบการณ์ที่จะให้กับผู้เรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัย  ตลอดจนการจัดลำดับบทเรียนให้สอดคล้องกับการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน จึงจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ และบรรลุจุดประสงค์ตามความต้องการ นอกจากนี้จะต้องศึกษาผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของผู้เรียนด้านต่าง ๆ และวัยต่าง ๆ ทั้งในด้านการเจริญเติบโต  ความต้องการ  ความประพฤติ ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัย  ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม และความสามารถพิเศษเฉพาะด้านของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำมาประกอบในการจัดทำหลักสูตร  กำหนดจุดมุ่งหมาย  การเลือกเนื้อหา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านได้ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการจัดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
2.1  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  มีสาระสำคัญ คือ  เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  การเรียนรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล  โดยตัวนักเรียนเองเท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองกำลังเรียนรู้  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ แบ่งออกเป็น  ขั้น  ตามลำดับช่วงอายุ  คือ
      ขั้นที่  1  ระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ  (Sensorimotor  Stage) ตั้งแต่แรกเกิดถึง ปี  เด็กจะรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรม  มีความเจริญอย่างรวดเร็วในด้านความคิดความ   เข้าใจ  การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและสายตา  และการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ  ต่อสภาพจริงรอบตัว  เด็กในวัยนี้ชอบทำอะไรบ่อย ๆ  ซ้ำ ๆ  เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก  ความสามารถในการคิดวางแผนของเด็กอยู่ในขีดจำกัด
       ขั้นที่  2  ขั้นเตรียมสำหรับความคิดที่มีเหตุผล ( Preparational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุ  2-7  ปี  เพียเจย์ ได้แบ่งขั้นนี้ออกเป็นขั้นย่อยๆ  ขั้น  คือ
                        2.2.1  Preconceptual  Though  เด็กวัยนี้อยู่ในช่วง  2  -  4  ปี  เด็กวัยนี้มีความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆแล้วเพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์  และยังไม่มีเหตุผลเด็กสามารถใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์  แต่การใช้ภาษานั้นยังเกี่ยวข้องกับตนเองเป็นส่วนใหญ่  ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  เด็กยังไม่สามารถใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล  เด็กยังไม่เข้าใจเรื่องความคงที่ของปริมาณ
                        2.2.2  Intuitive  Though  อยู่ในช่วงอายุระหว่าง  4  -  7  ปี  ความคิดของเด็กวัยนี้แม้ว่าจะเริ่มมีเหตุผลมากขึ้น  แต่การคิดและการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับการรับรู้มากกว่าความเข้าใจเด็กเริ่มมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นและมีการซักถามมากขึ้น  มีการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง  ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิด  อย่างไรก็ตามความเข้าใจของเด็กวัยนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่รับรู้จากภายนอกนั่นเอง
      ขั้นที่  3  ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม  (Concrete  Operational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุระหว่าง  7  -  11  ปี  เด็กวัยนี้  สามารถใช้สมองในการคิดอย่างมีเหตุผล  แต่กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหายังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรม  จุดเด่นของเด็กวัยนี้  คือเริ่มมีเหตุผล  สามารถคิดกลับไปกลับมาได้  เด็กเริ่มมองเห็นเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ  ได้หลายแง่หลายมุมมากขึ้น  สามารถตั้งกฎเกณฑ์นำมาใช้ในการแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ  เป็นหมวดหมู่ได้
               ขั้นที่  4  ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม    (Formal  Operational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุ 
11  -  15  ปี  ในขั้นนี้โครงสร้างทางความคิดของเด็กได้พัฒนามาถึงขั้นสูงสุด  เด็กจะเริ่มเข้าใจกฎเกณฑ์ทางสังคมได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้โดยใช้เหตุผลมาอธิบายและแก้ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นได้     เด็กรู้จักคิดตัดสินปัญหา    มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้มากขึ้น  สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม  และสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
2.2  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์    แบ่งออกเป็น  ขั้นตอน  คือ
       2.2.1.  Enactive  Stage  เป็นระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง  2  ปี  ซึ่งตรงกับขั้น  Sensorimotor  Stage  ของเพียเจท์  เป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำหรือประสบการณ์มากที่สุด
      2.2. 2.  Iconic  Stage  เป็นขั้นที่เด็กมีระยะการแก้ปัญหาด้วยการรับรู้แต่ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล  ซึ่งตรงกับ  Concrete  Operational  Stage ของเพียเจท์  เด็กวัยนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงมากขึ้น  จะเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  และภาพแทนในใจ  อาจจะมีจินตนาการบ้างแต่ไม่ลึกซึ้ง
    2.2.3.  Symbolic Stage  เป็นขั้นพัฒนาการสูงสุดทางด้านความรู้และความเข้าใจ เปรียบได้กับขั้นระยะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Operational Stage) เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาพ สามารถคิดหาเหตุผลและเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม  ตลอดจนสามารถคิดแก้ไขปัญหาได้
            2.3  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการสรรค์สร้างความรู้  ของ Vygotsky   การพัฒนาและทัศนคติของนักเรียนจะเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกับผู้อื่น  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในสภาวะที่เด็กเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลำพัง  เมื่อได้รับการช่วยเหลือเพื่อการทำงานร่วมกับเพื่อนที่มีประสบการณ์มากกว่า  นักเรียนจะสามารถแก้ปัญหาและเกิดการเรียนรู้

การนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการเรียนการสอน

            จิตวิทยา (Psychology) เป็นวิชาที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนอยู่ค่อนข้างมากกว่าศาสตร์สาขาอื่น ๆ  ทั้งนี้เพราะว่าผลงานของนักจิตวิทยาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่าวิชาจิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานทางการฝึกอบรมและการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบโรงเรียน อันจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการนำความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการสอนนั้น สามารถนำมาเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดระบบการเรียนการสอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงานการศึกษาและการศึกษานอกระบบโรงเรียน นั้น มัลคัม โนลส์ นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงได้เสนอแนะให้ใช้กระบวนการ ประกอบด้วยงานตามลำดับขั้นดังต่อไปนี้ คือ

1.    การสร้างบรรยากาศเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อชักจูงใจให้ผู้สนใจมาร่วมกิจกรรมในโครงการ โดยอาจแจ้งข่าวสารทางจดหมาย การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ การจัดประชุมสัมมนาและการฝึกอบรมเพื่อแนะแนวการศึกษา  สำหรับการจัดสถานที่เรียนหรือศูนย์การเรียน ก็ควรจะให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจ จัดอำนวยความสะดวกสบายเรื่อโต๊ะและที่นั่ง จัดวัสดุอุปกรณ์การศึกษา การจัดห้องเรียนให้อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างให้พอเพียง  เมื่อเริ่มรับนักศึกษาผู้ใหญ่เข้ามาสู่สถานศึกษาก็ควรมีการปฐมนิเทศ ให้การต้อนรับและแนะนำสมาชิก เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง

2.    การจัดโครงสร้างองค์การเพื่อวางแผนการเรียนร่วมกัน
ควรจัดให้มีการประชุมหรือปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มเล็ก เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนการเรียนตั้งแต่จุดเริ่มต้น ผู้สอนจะต้องรู้จักการดำเนินงานกลุ่ม ใช้เทคนิคการอภิปรายกลุ่ม การรักษาความสัมพันธ์ภายในกลุ่มให้มีระดับของการร่วมแสดงความคิดเห็น การก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เปิดเผยและไว้วางใจกัน มีอิสระ เสรีภาพ ซึ่งสามารถที่จะนำทฤษฎีและทักษะเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มในจิตวิทยาสังคมมาใช้ได้

3.    การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
ในขั้นนี้ เริ่มต้นโดยการสร้างเกณฑ์สมรรถภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งอาจจะได้มาจากผลการวิจัยหรือแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญ จากการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์อาชีพ หรือวิเคราะห์รายละเอียดของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงประเมินสภาพปัจจุบันของผู้เรียนว่า เขายังขาดสมรรถภาพอะไรอยู่อีกบ้าง ในด้านใด สำหรับสมรรถภาพที่ผู้เรียนยังขาดและต้องการนั้น ควรจะสนองตอบโดยวิธีการใดจึงจะทำให้ผู้เรียนยอมรับและตระหนักถึงความต้องการนั้นได้ ความรู้จากจิตวิทยาการทดสอบและการประเมินผล รวมทั้งทฤษฎีการแนะแนวจะช่วยให้ผู้สอนร่วมปรึกษาหารือกับผู้เรียน และดำเนินการไปได้ด้วยดี

4.    การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน
ในการสอนผู้ใหญ่ที่จะเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนโดยให้เขาเป็นผู้กำหนด และตัดสินทิศทางการเรียนของตนเอง ผู้สอนจะเป็นเพียงที่ปรึกษาให้ข้อเสนอแนะและร่วมวางแผน ดังนั้นกระบวนการพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ จึงเป็นวิธีการทางจิตวิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ทฤษฎีการให้คำปรึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม สำหรับโนลส์ได้เสนอแนะว่าในการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องระบุประเภทของพฤติกรรม รวมทั้งเนื้อหาและขอบข่ายของพฤติกรรมประเภทนั้นๆ ด้วย เช่น จะให้มีความรู้ในเรื่องอะไร จะให้มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับอะไร ทั้งนี้ต้องระบุทั้งสองประเภท

5.    การจัดแผนการเรียนการสอน
มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ เช่นหลักการเรียนของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตอลท์  หลักพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) ,การแบ่งแยกประเภทความรู้ออกเป็นสามองค์ประกอบของบลูม (Bloom) หลักการสอนทักษะ หลักการเปลี่ยนทัศนคติ
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการสอนโดยการจัดเรียนเป็นกลุ่ม โดยแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ในจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบเนื้อหา หน่วยการเรียน การเสนอแนะกระบวนการ และการจัดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกัน

6.    การดำเนินการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนจะขึ้นอยู่กับการเลือกเทคนิคการสอน ตลอดจนการใช้สื่ออุปกรณ์การสอนอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ การสอนแต่ละหน่วย และกลวิธีการจูงใจผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับผิดชอบในการเรียน ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเป็นทั้งนักเทคนิค คือ แนะนำวิธีที่ดีที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยอย่างมาก และบทบาทในฐานะเป็นวิทยากร คือ แนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาในหน่วยการเรียน แนะนำเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ช่วยการเรียนเมื่อผู้ใหญ่มีความต้องการ นอกจากนั้นจะเป็นผู้คอยเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วในหน่วยที่ผ่านมา กับเนื้อหาที่จะเรียนต่อไป



7.    การประเมินผู้เรียน
กิจกรรมนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อทราบว่า ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้ตอนแรกอย่างไร มีอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ทั้งนี้จะเปรียบเทียบกับความสามารถก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ เป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าที่ผู้เรียนได้รับ รวมทั้งประสิทธิภาพการสอนของครูเองด้วย
ครูผู้สอน จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถที่ต้องการจะวัดและประเมินผล ได้แก่ระดับความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความสามารถทางสติปัญญา (Cognitive Domain) ความรู้สึก ความสนใจ และทัศนคติ (Affective Domain) และควรจะมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ การสร้างแบบทดสอบ และหลักการประเมินผล ตลอดจนเทคนิคการแนะแนวเพื่อคำปรึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง จนสามารถตัดสินใจปรับปรุงและแก้ไขด้วยตนเอง

 ข้อมูลปรัชญาการศึกษา

          ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
            ปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษา คือเครื่องมือในการแก้ปัญหา และเสริมสร้าง สังคมใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
            “ปฎิรูปหมายถึง บูรณะ,ต่อเติม,ปรับปรุง ฯลฯ   John Dewey เป็นชาวอเมริกัน เมื่อ ค..1930 เพราะในช่วงดังกล่าวอเมริกาประสบปัญหาต่างๆ มากมายจึงต้องอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา และแก้ปัญหาสังคม แต่ Theodore Brameld ถือเป็นบิดาของปรัชญาสาขานี้  ความเชื่อพื้นฐานเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมเป็นสำคัญ มิใช่การพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว ต้องเรียนเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น  สร้างระเบียบของสังคมขึ้นมาใหม่  สังคมประชาธิปไตยโดยแท้จริง  ต้องตอบสนองต่อความต้องการของวัฒนธรรมในปัจจุบันเป็นสำคัญ  มุ่งแก้ไขปัญหาที่มีอยู่และส่งเสริมและพัฒนาสังคม  หลักสูตรเป็นแบบ Core Curriculums และหลักสูตรนั้นเน้นทางด้านสังคมเป็นสำคัญ  โรงเรียนเป็นตัวประสานสังคม และสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย  การวัดผลที่การพัฒนาของผู้เรียน  แนวคิดพื้นฐานมาจากการผสมผสานของปฏิบัตินิยมและพิพัฒนาการนิยม เน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมให้เจริญขึ้นให้ดีขึ้น ไม่ได้พัฒนาเพียงบุคคลเพียงอย่างเดียว             

แนวทางแห่งการปฏิรูปเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา
                        การศึกษามุ่งเน้นด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นำความรู้ความสามารถที่บุคคลมี มาร่วมกันช่วยเหลือ แก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ดังนั้นการศึกษาและสังคมจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนของการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมหลักๆ มีดังนี้
                        1. การศึกษาต้องช่วยแก้ปัญหาสังคมที่เป็นอยู่
                        2. การศึกษาต้องส่งเสริม พัฒนาสังคมโดยตรง
                        3. การศึกษาต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ให้สังคม จากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
                        4. ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีการสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย
                        5. การศึกษาจะต้องให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่ไปกับตนเอง
                        กระบวนการทางการศึกษานั้นคล้ายกับพิพัฒนาการนิยม คือเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ แต่เป็นแบบโครงงานและบูรณาการ ปฏิรูปนิยมยังใช้วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหา และยังอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา เข้ามาประกอบด้วย เพื่อให้การศึกษาปัญหาต่างๆ รัดกุมถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด  สถาบันการศึกษานั้นต้องสนใจใฝ่หาอนาคต และนำทางให้ผู้เรียนไปพบกับระเบียบสังคมใหม่โดยการให้การศึกษา สถาบันการศึกษาจะต้องเป็นผู้สร้างสังคม ไม่ใช่เป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมา (แต่ในพิพัฒนาการนิยม สังคมเป็นผู้สร้างสถาบันการศึกษา)
                        สถาบันการศึกษาในปรัชญาการศึกษาแบบปฏิรูปนิยมมีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนร่วมรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมแก้ปัญหาของสังคม และส่งเสริมสนับสนุนรวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม ถูกต้อง เป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตย
                        ผู้บริหาร ยึดหลักประชาธิปไตย ผู้สอน ผู้ปกครอง นักเรียนล้วนมีบทบาทในการวางนโยบาย (เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) และสามารถดำเนินการให้มากที่สุด ปฏิบัตินิยมมีเป้าหมายที่สังคมเป็นหลักสำคัญ ควรให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการคิด วางแผนและดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                        บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมกันแก้ปัญหาและใฝ่รู้เรื่องราวของสังคม เห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีส่วนร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสังคม  ผู้สอนต้องเป็นนักบุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจเรื่องของสังคมและปัญหาสังคม มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นนักสรุปสาระสำคัญ ไม่ทำหน้าที่ชี้และแนะแนวเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วย   ผู้เรียน ต้องเป็นคนที่เห็นประโยชน์ของสังคมมากกว่าส่วนตน ต้องเป็นนักคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา เป็นผู้สร้างสังคมใหม่ สามารถแสดงออกทางความคิดเห็นของตนได้อย่างเสรี
                        วิธีการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นตัวของตัวเอง ให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับความจริง ทั้งในและนอกห้องเรียน
                        หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบแกน ซึ่งมุ่งเน้นถึงสังคมในส่วนของ อนาคต ความรู้ใหม่ๆ การแก้ปัญหา เนื้อหาวิชามาจากทุกสาขาวิชาต้องรวบรวมเอาไว้ในสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้มากที่สุด กลุ่มวิชาที่ได้รับความสนใจจะเป็นกลุ่มวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง ศิลป วิทยาศาสตร์ การศึกษา ฯลฯ
                        การวัดผลและประเมินผล มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมในอุดมคติให้ได้ เพราะมนุษย์มีความสามารถที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมของตนดีขึ้น กำหนดอนาคตของตนเอง คุณค่าของมนุษย์คือการใช้พลังแห่งการสร้างสรรค์มากที่สุด ดังนั้นการวัดและประเมินผลจะต้องประเมินว่าเนื้อหาต่างๆ ที่เรียนรู้ไปนั้นช่วยพัฒนากำลังความคิดแห่งการสร้างสรรค์ในตัวผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
         
         
ปรัชญาทางการศึกษาอัตถิภาวะนิยม
            เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเลือกและตัดสินใจตามความต้องการของตัวผู้เรียนเอง  เป็นการศึกษาแนวใหม่ ประมาณ ศตวรรษที่ 20   Soren Kierkegorrd ชาวเดนมาร์ก   A.S.Neil เป็นผู้นำมาปฎิบัติได้เป็นคนแรกที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กที่ ประเทศอังกฤษ (Summer Hill) โดยให้เสรีภาพกับเด็ก(พวกเกเร) เพราะเชื่อว่าเด็กมิได้เลวร้ายเพราะตัวเด็กเอง แต่ได้รับผลกระทบบางอย่างต่างหาก และเด็กเหล่านั้นจะมีความสุขอีกครั้งเพราะเสรีภาพ ทำโรงเรียนให้เหมาะกับเด็ก มิใช่ปรับให้เด็กเหมาะกับโรงเรียน  เป็นปรัชญาแนวมนุษยนิยม Humanism  เน้นให้มนุษย์เข้าใจตนเอง มีอิสระเสรี Free Choice ในทุกเรื่องและรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น โดยเน้นที่ศีลธรรม จริยธรรมเพื่อให้ผู้เรียนเลือกนำไปปฏิบัติ ในหลักสูตรการเรียนจะไม่มีการกำหนดรายวิชาต่างๆให้กับผู้เรียน แต่มีวิชามากมายให้ผู้เรียนเลือกเรียนเอง  ผู้สอนและผู้เรียนมีความสำคัญเท่ากัน ต่างเคารพกัน  ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Center)  โรงเรียนต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียน  การวัดผล วัดจากการมีส่วนร่วมโดยดูที่ความก้าวหน้าและพัฒนาไปได้มากน้อยเพียงใด โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก : มีธรรมชาติบริสุทธิ์ สภาพแวดล้อมดี ห้องเรียนแบบธรรมชาติเรียบง่าย   การจัดการเรียนการสอนที่ผนวกเข้ากับแนวคิดทางศาสนาพุทธ ในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กก็คือ โยนิโสมนสิการ   ปะระโตโฆษะ
                   การศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ไม่มีตารางสอนของ นักเรียน มีแต่ของครู ให้ผู้เรียนได้มีความสนใจและเลือกได้อย่างอิสระ โดยมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตน ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในตนเอง
                        กระบวนการทางการศึกษาต้องให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง เริ่มต้นที่ผู้เรียนก่อน (ตัดสินใจ)กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวทั้งทางด้าน สติปัญญา จิตใจและอารมณ์ของตน
                        ผู้สอนต้องให้ความสนใจกับผู้เรียนอย่างเต็มที่ เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงเสรีภาพในการเลือกและกระทำอย่างเต็มที่ ผู้สอนต้องช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา ผู้สอนจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา ผู้สอนเป็น Facilitator ไม่ใช่ Teacher อีกต่อไป
                        ผู้เรียน มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเรียนการสอน มีเสรีภาพในการเลือกแนวทางในการพัฒนาตนเอง ผู้เรียนต้องมีวินัยและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
                        หลักสูตร ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ต้องให้ผู้เรียนเลือกวิชาต่างๆ ตามความสนใจ รายวิชาที่อัตถิภาวะนิยมเน้นคือ มนุษยศาสตร์ หรือจิตนิยม เพราะเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาสุนทรียศาสตร์ คุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในสังคม และถือว่าวิชานั้นมีความเหมาะสมกับตนเอง
                        การวัดและประเมินผล วัดที่ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาสติปัญญา จิตใจและอารมณ์ได้มากน้อยเพียงใด ต่อเนื้อหาวิชาที่ตนเลือกและรับผิดชอบต่อการเลือกนั้นๆ

          ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
            พิพัฒนาการหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง  การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันกับความเปลี่ยนแปลงจึงได้ชื่อว่า แนวทางแห่งความมีอิสระที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม
                   แนวคิดพื้นฐาน
                        มีแนวคิดเช่นเดียวกับปรัชญาปฏิบัตินิยม เชื่อว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม (เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมองค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดรูปแบบของวัฒนธรรมและสังคม เช่นการค้นคว้าทดลอง เพื่อประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกิดมาจากผัสสะ เพราะฉะนั้นมนุษย์จะสามารถกำหนดโชคชะตาของตนเองได้ มนุษย์จะเน้นความสำคัญและคุณค่าของแต่ละบุคคลให้มาก  การศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ก่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement (การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)
                        ความหมายของการศึกษา
                        การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต (Learning By Doing) หมายความว่าการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้โดยการลงมือกระทำ จริงๆที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์กับผู้เรียน เพราะฉะนั้นกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข  Learning By Doing *การศึกษาคือการปฏิบัติซึ่งสามารถทำได้เลยไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้*
                        ความมุ่งหมายของการศึกษา
                        มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน (จัดการเรียนการสอนด้านจริยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ฯลฯปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข     มุ่งให้ผู้เรียน เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ  ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน (แต่ยังอยู่ภายในโรงเรียนมุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  มุ่งให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง
                        ธรรมชาติของมนุษย์
                        มนุษย์เป็นคนดีมาแต่กำเนิด มนุษย์ไม่ได้โง่ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ความฉลาดนั้นได้มาจากประสบการณ์ทั้งสิ้น มนุษย์มีอิสระเสรี มีได้อยู่ที่การลิขิตของ ผู้ใดทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวเองได้ดี (แนวคิดนี้สอดคล้องกับพวกประจักษ์นิยม และเหตุผลนิยม แต่ไม่เชื่อเรื่อง Innate Idea คือเรียนรู้จากประสบการณ์)
                        กระบวนการของการศึกษา
                        ถือว่าประสบการณ์และการทดลองเป็นสำคัญ มากกว่าแค่รู้เฉยๆ More Doing Than Knowing , More Skill Than Knowledge ต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะ แก้ไขปัญหาของตนเองและสังคมได้ และจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
                        สถาบันการศึกษา
                        เชื่อว่าเป็นแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม โดยต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และการดำเนินชีวิตจริง แต่ต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ  สถาบันการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมือ และสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตยเพื่อเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสงบ
                        ผู้บริหาร
                        เป็นนักประชาธิปไตย เปิดใจกว้าง ให้ทีมงานเสนอความคิดเห็นและร่วมในการบริหารงาน และดำเนินงานไปตามมติของคณะกรรมการของสถาบันการศึกษา  บทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  เชื่อว่าผู้สอนและผู้เรียนมีความสนิทสนมกับสูง ผู้สอนต้องคอยกระตุ้นความสนใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน การเรียนแบบประชาธิปไตย
                        ผู้สอน
                        บุคลิกดี เห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี  ต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้สนใจด้วยตนเองโดยเรียนรู้จากประสบการณ์  ไม่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่ง แต่ต้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะแนวทางให้กับผู้เรียน
                        ผู้เรียน
                        ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมาก (ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ลงมือกระทำ Learning By Doing  มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้นๆ
                        วิธีสอน
                        สอนแบบการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (5 ขั้นเน้นความสำคัญที่มีต่อตนเองและสังคม คำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล (ระวังเรื่องการเกิดปมด้อยผู้เรียนที่เรียนอ่อน)
                        หลักสูตร
                        เป็นหลักสูตรแบบประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรม และเน้นวิชาที่เสริมประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม เนื้อหาของหลักสูตรจะต้องไม่ถูกกำหนดไว้ ล่วงหน้า โดยมุ่งเน้นที่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสงบสุข  หลักสูตรที่ดีต้องมุ่งไปในการเรียนรู้ทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกๆ ด้าน
                        การวัดผลและประเมินผล
                        ความรู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยมนุษย์แก้ปัญหาเท่านั้น (กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 1. ระบุปัญหา 2. กำหนดสมมุติฐาน 3. รวบรวมข้อมูล 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผล และยังเชื่อว่าการวัดผลที่เนื้อหาวิชาจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด

 II ปฏิบัติการ การออกแบบหลักสูตร
เรื่อง  หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัด   
       สำนักงานการประถมศึกษา

หลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 29 กำหนดให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบคัว ชุมชน องค์กรชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆเพื่อพัฒนาชุมชนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
1. หลักการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาตลอดชีวิตหมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมาตราที่ 10 กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
มาตรา 52 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. หลักการมีส่วนร่วม
มาตราที่ 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ
มาตราที่ 12 นอกจากรัฐบาลเอกชนให้บุคคลครอบครัว องค์กรชุมชนและสถาบันอื่นๆมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตราที่ 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน มาใช้ในการจัดการศึกษา
3. หลักการพัฒนาสาระการเรียนรู้
มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษา
มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 ต้องมีลักษณะหลากหลาย โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ
4. หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และการบูรณาการตามความเหมาะสม
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น ในมาตรา 29 ได้กำหนดดให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบคัว ชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ พื่อพัฒนาชุมชน ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ และมาตรา 41 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่นได้รับการผลักดันให้มีบทบาทในระบบการจัดการศึกษาของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2533-2542 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร 

1. ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ต้องใช้หลักสูตรนั้นๆ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางมีข้อบกพร่องหลายประการ
ความหมายตามลักษณะการสร้างหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์ที่มาของหลักสูตร สามารถจัดกลุ่มของหลักสูตรท้องถิ่นได้ 2 กล่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรท้องถิ่นในความหมายที่อิงหลักสูตรแม่บทเป็นสำคัญ
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท เกิดจากการปรับ เพิ่มและขยายหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บททั้งสิ้น
2. หลักสูตรท้องถิ่นใรความหมายที่อิงสภาพปัญหาและการตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสำคัญ
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาท้องถิ่น และไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าหลักสูตรท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท โดยให้ความหมายว่าเป็นหลักสูตรที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็ง ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นในท้องถิ่น
หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่สร้างขึ้น หรือการพัฒนามาจากหลักสูตรแกนกลาง โดยการปรับ ขยาย เพิ่มหรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นมาโดยมีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของตน เรียนรู้อาชีพและวัฒนธรรมในท้องถิ่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา พัฒนาชีวิตของตนเอง ครอบครัวและท้องถิ่นได้
2. ความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น มีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทุกฝ่ายจะช่วยกันกำหนดและพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนความเหมาะสมและความต้องการของตน ผ่านการบริหารในรูปแบบคณะกรรมการโรงเรียน
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ ประกอบกับการที่ได้นำหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรจากส่วนกลางที่มีลักษณะกว้าง มีการกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นค่านิยมทางการศึกษามากกว่าแนวปฏิบัติไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับท้องถิ่น จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาหรือปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้หลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงในท้องถิ่นของตน รวมทั้งการได้รับประสบการณ์ตรงกับชีวิต
3. ลักษณะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้ดำเนินการมีหลายลักษณะ เช่น การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม การปรับรายละเอียดของเนื้อหา การปรับปรุงและเลือกใช้สื่อ การจัดทำสื่อการเรียนขึ้นมาใหม่ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย สามารถกระทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การปรับหลักสูตรแม่บทให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โดยการปรับ เพิ่ม และ/หรือขยายเนื้อหาสาระวิชา กิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแม่บท และการปรับ/เพิ่มจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่
2. การสร้างหลักสูตรหรือรายวิชาใหม่ที่ไม่ได้ปรากฏในหลักสูตรแม่บทให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โดยที่มีหลักสูตรแม่บทเป็นกรอบในการกำหนด
3. การสร้างหลักสูตรสำหรับท้องถิ่นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ต้องมีหลักสูตรแม่บทเป็นกรอบในการกำหนด ซึ่งอาจจัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในท้องถิ่น

แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานต่อไปนี้
1. พื้นฐานของพุทธศาสนา
1.1 อริยสัจ 4 พุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เรียน ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและชุมชนจึงต้องเริ่มจากปัญหา เพื่อแก้ไข
1.2 อิทัปปัจจยตา หลักพุทธศาสนาเชื่อว่า เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงตามมา หรือเมื่อมีแล้ว อย่างนั้นจะตามมา ทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ไม่เป็นอิสระแต่เป็นองค์รวม
1.3 เชื่อว่าทุกสิ่งมาจากเหตุ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนเน้นการท่องจำมากกว่าการสอนให้เหตุผล ดังนั้น การเรียนการสอนต้องให้คนได้เรียนรู้การหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
2. ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ (คิดเป็น)
คิดเป็น มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการมีความสุข แต่ความสุขแต่ละคนแตกต่างกัน เนื่องจากชีวิตมนุษย์มีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการ ความแตกต่างของแต่ละคนและชุมชน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
2.1 ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 ขั้นวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลมาประกอบ
2.3 ขั้นตัดสินใจ ได้ทางเลือกแล้วจึงแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆสมบูรณ์ที่สุด
2.4 ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกแล้วต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ขั้นปฏิบัติในการแก้ปัญหา เป็นการประเมินผล เพื่อนำมาสู่กระบวนการคิดแก้ปัญหาใหม่
2.6 การให้การศึษาเพื่อไปสู่การคิดเป็น โดยผู้เรียนสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์สาเหตุ แล้วเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความชอบธรรม แล้วกลับมาตรวจสอบสาเหตุของปัญหา เพื่อแนวทางแก้ปัญหาในวงจรใหม่ต่อไป
3. พื้นฐานของชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน โดยผู้เรียน ครู และชุมชนร่วมกันสร้าง ผู้เรียนจึงเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
3.1 ชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้เรียน ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจ ซึ่งตอบสนองต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการแสวงหาความรู้
3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชีวิตของมนุษย์จะเติบโตในลักษณะองค์รวม ต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัย รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีคุณค่า
4. หลักการเรียนรู้
หลักสูตรท้องถิ่นของกรมการศึกษานอกโรงเรียนพัฒนาบนพื้นฐานทางวิชาการ โดเน้นหลักการต่อไปนี้
4.1 การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบสหวิทยาการ การเรียนการสอนแบบแยกส่วน บางครั้งอาจใช้ได้ในบางจุด การสอนแบบองค์รวมเหมาะกับชีวิตจริง
4.2 เน้นการบูรณาการความรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตจริง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้เกิดความสอดคล้องระหว่างการเรียนรู้และการทำงาน หรือชีวิตจริง ควรเป็นเรื่องราวที่เป็นจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
4.3 การขยายผลและการประยุกต์ความรู้ไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ต้องจัดกิกรรมการเรียนการสอนให้ครบตามทฤษฎีเชิงระบบ คือ ขั้น1 input การแสวงหาและการถ่ายทอดความรู้ร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียน ขั้น 2 process กระบวนการที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และขั้นที่ 3 output การแสดงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของการนำความรู้ไปขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
4.4 เน้นการต่อยอดความคิดมากกว่าการถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว มนุษย์ถ้าคิดได้ คิดเป็น จะสามารถแสวงหาความรู้ได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิบัติจริงหลายๆกระบวนการรวมทั้งเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ เพื่อส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
4.5 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องใช้เทคนิคและกระบวนการโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่ผสมผสานกับทฤษฎีความรู้เพิ่มเติม
4.6 พื้นฐานของทฤษฎีเชิงระบบ คำว่าระบบ คือ การนำองค์ประกอบหลายๆส่วนมาสอดประสานกันอย่างสอดคล้อง และส่งเสริมซึ่งกันและกัน การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่นโดยวิธีของทฤษฎีเชิงระบบพัฒนาตามขั้นตอน ดังนี้
4.6.1 ปัญหา (แท้) คือปัญาที่เกิดจากเหตุ
4.6.2 ความต้องการ (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.3 หัวข้อเนื้อหา (ที่เป็นรูปธรรม)
4.6.4 สาระสำคัญ
4.6.5 วัตถุประสงค์
4.6.6 กระบวนการเรียนรู้ที่ครอบคลุม I-P-O
4.6.7 สื่อการเรียนการสอน
4.6.8 การประเมินผล
4.7 ทฤษฎีเชิงการสร้างปัญญา การเรียนรู้เกิดจากการสร้างความรู้โดยตรง เมื่อผู้เรียนมีข้อมูลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลง พูดคุยกับกลุ่มอื่น ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ใหม่ มีการจัดระบบเป็นหมวดหมู่ ถือว่าผู้เรียนมีสาระของเนื้อหา
4.8 การใช้ผู้ชำนาญการในท้องถิ่น การจัดการเรียนการสอนชุมชนจึงเป็นภูมิปัญญาดด้านต่างๆ รวมทั้งตัวผู้เรียนด้วยที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความเป็นอยู่ในชุมชน
4.9 การศึกษาตลอดชีวิต หลักสูตรท้องถิ่นถือเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ส่งผลให้คนสามารถจัดการกับชีวิตด้วยตนเอง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
แนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น อยู่บนรากฐานของหลักศาสนาและการศึกษที่สอนให้คนเป็นผู้มีความคิด รู้จักตนเอง บนพื้นฐานชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเป็นเรื่องสอดคล้องกับสภาพปัญหาความเป็นอยู่ของผู้เรียนที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ
จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่น
จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้อง อำนวยประโยชน์ต่อนักเรียนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาชีพ เศษฐกิจตามจตนารมณ์นั้น จุดเน้นของการพัฒนาและการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นต้องคำนึงถึง 3 ส่วน คือ
1. เนื้อหาสาระ ที่ต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้และภูมิใจในชุมชนของตนเอง
2. กระบวนการเรียนการสอน ต้องให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงจากชุมชน
3. ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาช่วยในการเรียนการสอน
ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่นที่ดี
หลักสูตรระดับท้องถิ่นที่ดี เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสภาพชีวิตของผู้เรียน มีลักษณะดังนี้
1. ตอบสนองความหลากหลายของปัญหา มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้เหมาะสม เน้นกระบวนการสอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง จนเกิดทักษะ
2. ส่งเสริมให้ทท้องถิ่นมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากท้องถิ่น เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริง มีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3. สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนหรือตัดตอนของกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมทางวิชาการ
4. สามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนปลงไปตลอดเวลา สามารปรับเปลี่ยนได้ทันที
5. ส่งเสริมความเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม มุ่งเน้นด้านศีลธรรม จริยธรรม การธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย ก่อให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่นภูมิใจในภูมิปัญญา
ค่านิยม ความเชื่อ ความคาดหวังและอุดมการณ์ที่ต่างกันของคนในท้องถิ่นกับผู้สร้างหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาของท้องถิ่นกับปรัชญาการศึกษาโดยทั่วไปถูกกำหนดเป็นกรอบในการจัดการศึกษา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ ปรัชญาการศึกษาสำหรับท้องถิ่นมองว่าธรรมชาติเป็นถิ่นที่อยู่ของตน แต่ปรัชญาการศึกษาไม่ใส่ใจกับการคงอยู่ของธรรมชาติมากเท่ากับการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า และมากที่สุด

กลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
    ผู้เรียนคือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม  สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และเป็นโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
                       
วิสัยทัศน์
นักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานภาษาอังกฤษ มุ่งพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสาร พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ จัดการเรียนรู้คู่คุณธรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

พันธกิจ
1. จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษพื้นฐานในบริบทท้องถิ่น
2. ศึกษาและพัฒนาตนเพื่อการสื่อสารความหมาย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนในโดยใช้บริบทในชุมชน


เป้าหมาย
1. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆได้ถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับ
    สถานการณ์    
   2. เพื่อให้สามารถพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
   3.  เพื่อให้พัฒนาความสามารถด้านการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน เพื่อใช้ในการสื่อสารและแสวงหาความรู้
   4.  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ  สามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์
   5.  เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษเห็นประโยชน์และคุณค่าของภาษาอังกฤษในการแสวงหาความรู้และการประกอบอาชีพ

การจัดโครงสร้างของหลักสูตร
1. เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์หลักสูตร
2. เนื้อหาสาระ
3. กิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
ระยะเวลา
จำนวน 16  สัปดาห์  1 ภาคเรียน

 III ปฏิบัติการ การจัดหลักสูตร
เรื่อง หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

ในการจัดการเรียนการสอนนั้นจะ ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ  Backward  Design
 (ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา เรียบเรียง)
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ  BackwardDesign นั้น   เป็นแนวคิดของ  Grant Wiggins และ   Jay McTich   ซึ่งคิดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)   โดยเขียนหนังสือเรื่อง Understanding by Design   นักวิชาการชาวไทยที่นำมาพัฒนาเผยแพร่ คือ ดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา, ดร.เพ็ญนี  หล่อวัฒนพงษา    การออกแบบการเรียนรู้แบบ  Backward Design เป็นที่นิยมของโรงเรียนนานาชาติ ได้เผยแพร่เป็นที่รู้จักในวงการศึกษาไทยจากการอบรมปฏิบัติการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ดอกเตอร์โกวิท  ประวาลพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้จัดอบรมให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อการอบรมเรื่องการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ  Backward Design
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design เป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับ เริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ โดยนำการวัดผลมาเป็นหลัก จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรและแผนการเรียนการสอน
   ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน          
                    (หาหลักฐานการเรียนรู้)
ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบการเรียนรู้
                   ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้ ในการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนควรรู้อะไร ควรมีความเข้าใจเรื่องใด และควรทำสิ่งใดบ้าง สิ่งใดที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ ควรให้มีความเข้าใจที่ยั่งยืนในเรื่องใดบ้าง
               ขั้นตอนที่ 1 จะมีกิจกรรม 8 หัวข้อ ดังนี้ (ลำดวน  ไกรคุณาศัย และคณะ ก,ข.2550 : 3)
           1) กำหนดประเด็นการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้หรือหน่วยการเรียนรู้เป็นการ
กำหนดประเด็นหัวเรื่อง (Theme) หน่วยการเรียนรู้จากความมั่นใจของชุมชน ครู นักเรียน
                                กำหนดเป้าหมายของการสอน  เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเรียนจบแล้วต้องการให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์มาตรฐานสาระการเรียนรู้
                                        2) กำหนดแนวคิดหลัก (Core Concept) ที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็น สอดคล้องกับหัวเรื่อง โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping)
                                                แนวคิดหลัก  (Core Concept) ได้จากการวิเคราะห์หัวเรื่องกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อที่สอดคล้องกับประเด็นหัวเรื่อง ซึ่งจะมีหัวข้อย่อย ๆ ประกอบอยู่
                                        3) กำหนดความรู้คงทน (Enduring Understanding) หรือความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ศึกษามาตรฐานสาระการเรียนรู้ เพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนต้องรู้อะไร ทำอะไร ได้รับการพัฒนาจิตพิสัยด้านใด ได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใด เกิดจากการเรียนรู้ประเด็นหัวเรื่อง ได้จากการรวบแนวคิดหลัก (Core Concept) เป็นความคิดรวบยอด
                                       4)  การวิเคราะห์เทียบมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ต้องพิจารณาว่าในขั้นตอนที่กำหนดความคิดหลักไว้แต่ละหัวข้อนั้น สามารถนำไปเทียบกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใด มาตรฐานใด ให้ระบุไว้
                                        5) การวิเคราะห์ความรู้หรือทักษะเฉพาะวิชาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้ที่ระบุหรือพิจารณาไว้ มีทักษะเฉพาะวิชาด้านใดบ้าง นำมาเขียนระบุไว้ โดยพิจารณาทีละกลุ่มสาระ  ซึ่งทักษะเฉพาะ ศึกษาได้จากมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งจะมีคำหรือข้อความเชิงพฤติกรรม เช่น สังเกต, ศึกษา, เปรียบเทียบ ฯลฯ
                                        6)  การวิเคราะห์จิตพิสัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน การวิเคราะห์จิตพิสัย จะเป็นพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งศึกษาได้จากมาตรฐานการเรียนรู้ โดยผู้สอนสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรฐานได้   โดยให้สอดคล้องกับประเด็นหัวเรื่อง (Theme ) และแนวคิดหลัก (Core Concept)
                                       7) การวิเคราะห์ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม(ทักษะบูรณาการ) พิจารณาจากทุกมาตรฐานว่ามีทักษะใดบ้างที่ไม่ได้ระบุไว้ในทักษะเฉพาะวิชา แต่เป็นทักษะที่นำมาใช้ร่วมกันได้ทุกกลุ่มสาระ  เช่น  กระบวนการกลุ่ม  การวางแผนการทำงาน  กระบวนการวิทยาศาสตร์
การนำเสนอผลงาน การคิดวิเคราะห์ การสืบค้น
                                       8) การวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด เลือกเฉพาะข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ออกแบบการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องนำมาหมดทุกข้อ
                ขั้นตอนที่ 2 จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
(หาหลักฐานการเรียนรู้) หรือ การกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับด้วย วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design กำหนดให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผล ครูจะเริ่มวางแผนการเรียนรู้ ด้วยการพิจารณาถึงหลักฐานหรือร่องรอยที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง
                 การจัดทำผังการประเมิน ครูผู้สอนต้องตัดสินใจว่า ความเข้าใจที่เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้น นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิตแสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins และ   McTight  ได้ให้รายละเอียดความเข้า 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ อธิบายชี้แจงเหตุผล, แปลความ ตีความ, ประยุกต์, มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง, สามารถหยั่งรู้ความรู้สึกร่วม และมีองค์ความรู้ของตนเอง (ไตรรงค์  เจนการ. 2549 : 3)
                เทคนิคการประเมิน ในขั้นตอนที่ 2 ผังการประเมินได้เสนอแนะไว้ 6 วิธีการใหญ่ ๆ ดังนี้
                1. การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Selected Response)   เช่น   การจับคู่คำตอบ การเลือกตอบ การตอบแบบตัวเลือก 
                2. การเขียนหรือตอบตามเค้าโครง (Constructed Response) เช่น เขียนรายงานผลการทดลอง เขียนจดหมายตามรูปแบบที่วางไว้  การเขียนตอบแบบสั้น ๆ
                3. การตอบอัตนัย (Assay) การเขียนบทความ เขียนตอบโดยกำหนดเค้าโครงเอง (การตอบแบบอธิบาย บรรยาย)
                4. การผลิตชิ้นงาน โครงการ การแสดง การปฏิบัติที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลในโรงเรียน อยู่ในบริบทของโรงเรียน (School products/ School performance) การนิทานแผ่นเดียวหรือนิทานเล่มเล็ก นิทานเล่มใหญ่ การทำแผ่นพับความรู้ สมุดภาพ การทำรายงาน การทำโครงงานทั่ว ๆ ไป
                5. การผลิตชิ้นงานโครงการ  โครงงาน การแสดง  การปฏิบัติที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลภายนอกโรงเรียน  อยู่ในบริบทของชีวิตจริง ซึ่งมีความซับซ้อนของสถานการณ์และการจัดการมากกว่า นักเรียนต้องมีทักษะและความรู้ใกล้เคียงกับมืออาชีพในการทำงานหรือการปฏิบัตินั้น ๆ (Contexual products/ Contexual performance) การทำโครงงานจากการไปศึกษาข้อมูลจากชุมชน การทัศนศึกษาแล้วทำรายงานหรือโครงงาน โครงการมัคคุดเทศก์น้อยแนะนำท้องถิ่น ชุมชน
                6. การประเมินต่อเนื่อง (On-going tools) เช่น การสังเกตพัฒนาการของนักเรียน การประเมินทักษะของนักเรียน การประเมินตนเองของนักเรียน การสังเกตด้านจิตพิสัยและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องอาศัยการสังเกตอย่างต่อเนื่อง
 การวางผังประเมินเป็นการประเมินตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งครูผู้สอนต้องวางผังการประเมินให้ครอบคลุม คือ ความเข้าใจที่คงทน, จิตพิสัย, ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม, ความรู้และทักษะเฉพาะวิชา, คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แต่ละหัวข้อต้องเลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสม โดยให้เลือกวิธีการประเมินที่สามารถวัดผลได้ชัดเจนตามศักยภาพผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้
                การออกแบบการเรียนรู้   เป็นการนำผังการประเมินในขั้นตอนที่ 2  มาออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยมีวิธีการพิจารณา ดังนี้
                   1) เรียงเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้น
                   2) เรียงลำดับก่อนหลัง
                    3) ตัวอย่างการประเมินจากกิจกรรมโครงงานก่อนจะประเมินครูต้องพิจารณาว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้อะไรร่วมกับผู้เรียนบ้าง
   4) เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน ครูผู้สอนควรมีเกณฑ์คุณภาพ (Rubric) กำหนด ระดับ          คุณภาพไว้อย่างชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของครูผู้สอนแต่ละคนและนักเรียนที่จะช่วยให้สามารถทำชิ้นงานได้ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

แนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design
                การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design มีแนวทางในการออกแบบการเรียนรู้ ดังนี้
                   1. นำเนื้อหาสาระในหนังสือเรียนมาออกแบบการเรียนรู้ และทำแผนการสอน อาจบูรณาการหรือไม่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นก็ได้
                   2. นำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design โดยบูรณาการในกลุ่มสาระต่าง ๆ
                   3. นำเรื่องราว เนื้อหา แนวคิดต่าง ๆ เช่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้


การวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อการสอน การวัดผลประเมินผล หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา

เนื้อหาหลัก/
เนื้อหาย่อย
จุดประสงค์การเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการสอน
การวัดประเมินผล
1. Occupation
1. นักเรียนสามารถบอกชื่ออาชีพต่างๆเป็นภาษาอังกฤษได้
2. นักเรียนสามารถเขียนชื่อต่างๆเป็นภาษาอังกฤษได้
3. นักเรียนสามารถเขียนชื่อต่างๆเป็นภาษาอังกฤษได้
4. นักเรียนสามารถอธิบายถึงอาชีพที่นักเรียนชอบได้
1. เกมแผ่นอักษรผสมคำศัพท์
2. การใช้คำถาม
- What do you want to be when you grow up?
- Why do you want to be.... ?
- What work does she/he do?
- He/She is a.....
3. กิจกรรมกลุ่ม
4. ทำแบบฝึก
5. กิจกรรมวาดภาพ  อาชีพที่ฉันอยากจะเป็น
1. รูปภาพเกี่ยวกับอาชีพ 10 ภาพ
2. แผ่นอักษรผสมคำศัพท์
3. แบบฝึก
4. แบบบันทึกประเมินผลกิจกรรม
1. การบอกอาชีพตามภาพที่นักเรียนเห็น
2. การฝึกใช้คำถามเกี่ยวกับอาชีพ
3.  การตอบคำถาม
4. การร่วมมือในการจัดกิจกรรม
2.  Occupation
1.นักเรียนบอกได้ว่าผู้ปกครองมีอาชีพอะไร
2. นักเรียนสามารถเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพได้
3. นักเรียนสามารถบอกอาชีพที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้
1. ทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพ
2. ใช้รูปภาพจิ๊กซอว์ บอกอาชีพต่างๆ
3. เขียนบทบาทอาชีพบิดา-มารดา อย่างน้อย 5 ประโยค
4. ทำแบบฝึก
1. รูปภาพอาชีพ 10 อาชีพ
2. รูปจิ๊กซอว์
3. แบบฝึก
1. การพูดการฟังอาชีพบิดา-มารดา
2. การเขียนบรรยาย
3. ความรับผิดชอบในการส่งงาน
 4. ความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
3. Food and Drink
1. นักเรียนสามารถบอกชื่ออาหารเป็นภาษาอังกฤษได้
2. นักเรียนสามารถใช้คำถามในการถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหารได้
3. นักเรียนสามารถเขียนชื่ออาหารเป็นภาษาอังกฤษได้

1. การใช้คำถาม-ตอบ
2. กิจกรรมกลุ่ม
3. กิจกรรมคู่
4. ฝึกเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารและวาดภาพ
5. กิจกรรมแบบฝึก
1. บัตรภาพเกี่ยวกับอาหาร
2. บัตรคำศัพท์
3. แบบฝึก
1. การบอกชื่ออาหาร
2.การใช้คำถามในการถามตอบ
3. การเขียนชื่ออาหารเป็นภาษาอังกฤษ

4. Thing (Clothes)
1. นักเรียนสามารถบอกชื่อเสื้อผ้าที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้
2. บักเรียนสามารถบอกสีของเสื้อผ้าได้
 1. สนทนาโดยใช้ประโยค Good....../ How are you?
2. สนทนารูปภาพ / ของจริงที่ใช้ในท้องถิ่น โดยใช้ประโยค What is it?
 3. ทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสีต่างๆที่ใช้ What color is it? it is........?
4. กิจกรรมกลุ่ม ภาพจิ๊กซอว์
5. กิจกรรมแบบฝึก
1. เสื้อผ้าที่ใช้ในท้องถิ่น
2. เกมส์จิ๊กซอว์
3. แบบฝึก
4. แถบประโยค
1. การสนทนาและตอบคำถาม
 2. ความสนใจและตั้งใจขณะทำกิจกรรม
3. ผลงานการต่อจิ๊กซอว์ของนักเรียน
 5.Thing (Animals)
1. นักเรียนสามารถบอกชื่อสัตว์ที่รู้จักเป็นภาษาอังกฤษได้
2. นักเรียนสามารถบอกชื่อสัตว์ที่ชอบเป็นภาษาอังกฤษได้
3. นักเรียนสามารถบอกชนิดของสัตว์เป็นภาษาอังกฤษได้
4.วาดภาพสวนสัตว์และเขียนชื่อสัตว์เป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
1. สนทนาเกี่ยวกับสัตว์และประเภทของสัตว์
2. ให้นักเรียนสร้างสวนสัตว์ลงในกระดาษ A4
3. เกมกลุ่มแยกประเภทสัตว์
4. แบบฝึก
5. แบบทดสอบ
1. บัตรภาพสัตว์
2. เกมกล่องแยกประเภทสัตว์
3. แบบฝึก
4. แบบทดสอบ
1. การบอกชื่อสัตว์เป็นภาษาอังกฤษ
2. การบอกชื่อสัตว์ที่ชอบเป็นภาษาอังกฤษได้
3. การแยกชนิดของสัตว์เป็นภาษาอังกฤษได้
4. ผลงานของนักเรีบน


6. Things
1. นักเรียนสามารถบอกชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. นักเรียนสามารถบอกจำนวนของสิ่งของได้
3. นักเรียนสามารถถาม และตอบคำถามในบริบทได้
1. สนทนาเกี่ยวกับสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ประโยค It is........
2. ใช้ประโยคเพื่อถามปริมาณ How much/How many..........?
3. กิจกรรมกลุ่ม
4. แบบฝึก
5. แบบทดสอบ
1. กล่องสำหรับใส่สิ่งของ
2. สิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระดาษ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
3. แบบฝึก
4. แบบทดสอบ
1. การถาม และการตอบคำถาม
2. การบอกชื่อของและจำนวนสิ่งของ
3. การทำงานกลุ่ม

7.Person (People)
1. นักเรียนสามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลในประเทศต่างๆได้
2. นักเรียนสามารถอ่านและแปลเนื้อหาในบริบทได้
3. นักเรียนสามารถตอบคำถามในบริบทได้
1. สนทนาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านที่นักเรียนรู้จัก
2. ใช้ประโยค He/She is......?
3. กิจกรรมหุ่นนิ้วมือ  I am.....
4. ใช้คำถาม-ตอบ Is she/he..?
    Are they..........?
    Yes/No ..............
5. กิจกรรมกลุ่ม
6. การทำ Mind Mapping
1. แผนที่โลก
2. ภาพประกอบการเรียนเรื่อง บุคคล 10 ภาพ
3. หุ่นนิ้วมือ
4. เอกสารใบความรู้
5. กระเป๋าหนัง
1. การตอบคำถามในบริบท
 2. การทำงานกลุ่ม
3. การอ่าน และแปลเนื้อหาในบริบท
8. Place
1. นักเรียนสามารถใช้คำบ่ง Preposition บอกตำแหน่งได้
2. นักเรียนสามารถใช้คำถาม Where is the .......? ได้
3. นักเรียนสามารถเขียนตามคำบอกได้
1. ร้องเพลง What is it?
2. ทบทวนการใช้คำถาม Where is the.......?
3. เสนอคำศัพท์ใหม่และคำ preposition  ในการถามตอบ
4. เสนอข้อความแล้วให้นักเรียนวาดแผนผังของสถานที่
5. ทำแบบฝึก
6. แบบทดสอบ
1. แผนผังสถานที่
2. เพลง Where is it?
3. Chart ข้อความ
4. แบบฝึก
5. แบบทดสอบ
1. การตอบคำถาม
2. การเขียนคำศัพท์
3. การวาดแผนผัง
9. Place
1. นักเรียนใช้คำถาม where do you live ? ได้
2. นักเรียนสามารถถาม-ตอบ คำถามในบทเรียนได้
3. นักเรียนสามารถร้องเพลง where do you live ได้
1.ร้องเพลง Where do you live
2. ทบทวนประโยค where are you (come) from?
3. ใช้ประโยค Where do you live?
I live in..............
4. กิจกรรมคู่
5. แบบกรอกข้อมูล
6. ทำแบบฝึก
7. แบบทดสอบ

1. แผนที่ประเทศไทย
2. แบบฟอร์มข้อมูล
3. แบบฝึก
4. แบบทดสอบ
5. เกมแผนที่บอกที่อยู่
6. แถบประโยค
7. เพลง Where do you live
1. การตอบคำถาม
2. การใช้คำถามในการสัมภาษณ์
3. การทำงาน การกรอกแบบฟอร์มข้อมูล
4. ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม
10. Ceremony
1. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงเนื้อเรื่องได้อย่างถูกต้อง
 2. นักเรียนสามารถเติมคำศัพท์ในเนื้อเรื่องได้ถูกต้อง
3. นักเรียนสามารถตัดคำศัพท์ได้ถูกต้อง
1. ทบทวนคำศัพท์โดยใช้บัตรคำฝึกสะกดและอ่าน
2. ฝึกเสียงที่เป็นตัวสะกด  s/sh/es
3. นำเสนอเรื่อง Songkran  Loy kratong
4. ฝึกอ่านออกเสียง
5. ทบทวนประโยค  Present Continuous tense
6. เกมคำศัพท์  กิจกรรมกลุ่ม
7. คัดคำศัพท์
1. บัตรคำ
2. บัตรภาพ
3. เนื้อเรื่อง
   - Songkran
  - Loy kratong
4. เกมส์คำศัพท์
1. การอ่านเนื้อเรื่อง
2. การสะกดคำ
3. ความสนใจและความตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
4. ผลงานนักเรียน


ตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้  ในหน่วยเรื่อง Food

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
รหัสวิชา อ 22102               รายวิชา  ภาษาอังกฤษในท้องถิ่น        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ   
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                    ภาคเรียนที่  1                                 ปีการศึกษา  2558
หน่วยการเรียนรู้  ผลิตภัณฑ์ดีในท้องถิ่น                                     กิจกรรม  บูรณาการ     
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15         เรื่อง  Local  product :  Khao Lam                   เวลา 1 ชั่วโมง
------------------------------------------------------------------------------
1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
                มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ต 1.1   เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น  อย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด
1.1 ม.2/1  ปฏิบัติตามคำขอร้อง  คำแนะนำ  คำชี้แจง และคำอธิบายง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน
1.1 ม.2/2  อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ และบทร้อยกรองสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน  
2.  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การศึกษาเนื้อหาผลิตภัณฑ์ดีในท้องถิ่น คือ ข้าวหลาม  ให้เข้าใจนั้นนักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้  และทำความเข้าใจในความหมายของคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องจึงจะทำให้นักเรียนเข้าใจรายละเอียดได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA)              
3.1        ด้านความรู้ 
1.  อ่านใบความรู้เรื่อง  Khao Lam  แล้วบอกรายละเอียดขั้นตอนการทำข้าวหลามได้
3.2  ด้านทักษะ
2.  อ่านออกเสียงเนื้อหาเรื่อง Khao Lam  ได้ถูกต้อง
3.  ปฏิบัติงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้
                3.3  ด้านคุณลักษณะ
                         4.  นักเรียนมีวินัยในการเรียน  ใฝ่เรียนรู้  และเรียนรู้อย่างพอเพียง   
4.  สาระการเรียนรู้
            4.1.  Content  :  Local  Product  :  Khao Lam  (Rice Pudding Cooked In Bamboo)  
                4.2.  Vocabulary  :   Khao Lam,  sticky rice,  ingredient,  bamboo,  pudding,  expect, content,
consist,  mixture, coconut,  milk, sugar, impression, stuff,  material, glutinous    
                4.3   Culture    :   อาหารในท้องถิ่น  คือ  ข้าวหลาม
5.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                1.  ความสามารถในการสื่อสาร
6.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                1.  มีวินัย 
                2.  ใฝ่เรียนรู้
                3.  อยู่อย่างพอเพียง
7.  ชิ้นงาน / ภาระงาน
                ชิ้นงาน - แบบฝึกหัดเรื่อง  Khao Lam (อ่านเนื้อหา เรื่อง Khao Lam แล้วเขียนอธิบายวิธีทำข้าวหลามตามรูปภาพที่กำหนด)
            ภาระงาน    - ให้นักเรียนเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  ในการออกแบบและเขียนแนะนำข้าวหลามในท้องถิ่นเพื่อทำชิ้นงานในชั่วโมงต่อไป
8.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1. ครูและนักเรียนดูภาพข้าวหลามหลากหลายชนิดพร้อมสนทนาเกี่ยวกับข้าวหลามชนิดต่าง ๆ ที่พบในท้องถิ่นถึงส่วนประกอบ  วิธีการทำ  รสชาติ   ประเภทที่ชอบไม่ชอบอย่างไรคร่าวๆ เป็นภาษาไทย 
                2.  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และรายละเอียดกิจกรรมการเรียนรู้
            ขั้นการจัดการเรียนรู้  
                3. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 5-6  คน   แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถคละกันระหว่างนักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อน  โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษในภาคเรียนที่ผ่านมา  สมาชิกในกลุ่มเลือกประธาน  เลขานุการ  และแบ่งหน้าที่การทำงานภายในกลุ่มตามความสามารถของแต่ละบุคคล
            4.  นักเรียนทุกคนรับใบความรู้  เรื่อง  Khao Lam  อ่านสำรวจเนื้อหาคร่าว ๆ
            5.  นักเรียนฟังการอ่านออกเสียงของเนื้อเรื่องจากครู 1 รอบ แล้วให้นักเรียนอ่านออกเสียงตามครู
รอบ
            6.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกอ่านออกเสียงเนื้อเรื่องให้คล่อง  ภายในเวลา 5 นาที โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มถ้ากลุ่มใดไม่มั่นใจ/ไม่สามารถออกเสียงได้ให้ปรึกษาครู  ที่คอยสังเกตพฤติกรรมและให้ความช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด
            7.  ครูตรวจสอบการอ่านออกโดยสุมนักเรียนเป็นรายบุคคล  จำนวน  2-คน  อ่านออกเสียง  ให้ทุกคนในห้องเรียนฟัง  ครูและนักเรียนคนอื่น ๆ เสนอแนะเพิ่มเติมในกรณีที่ออกเสียงไม่ถูกต้อง  และนัดหมายให้นักเรียนสอบอ่านออกเสียงกับครูนอกเวลาเรียน
            8.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำแบบฝึกหัด เรื่อง Khao Lam  โดยครูกำหนดเวลาในการทำกิจกรรมไม่เกิน  10  นาที  ครูชี้แจงให้แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่การทำงานตามความถนัดเฉพาะบุคคล ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม  ร่วมกันศึกษาความหมายของคำศัพท์ จาก Dictionary หรือปรึกษาครู   อ่านทำความเข้าใจในเนื้อหา เรื่อง Khao Lam  อย่างละเอียดแล้วเขียนบรรยายวิธีทำข้าวหลามตามรูปภาพที่กำหนดให้  พร้อมเตรียมความพร้อมให้ตัวแทนกลุ่มเตรียมนำเสนอคำตอบ  ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่ครูกำหนดให้
9.  แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอคำตอบโดยการเขียนคำตอบบนกระดานดำหน้าชั้นเรียน
                10.  ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบคำตอบพร้อมกัน  ครูชื่นชมคำตอบที่ถูกต้อง  และช่วยกันเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์  โดยเขียนคำตอบที่ถูกต้องบนกระดานดำ
                11.  แต่ละกลุ่มร่วมกันแก้ไขคำตอบของตนเองให้สมบูรณ์  แต้วนำไปติดไว้ป้ายนิเทศในห้องเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเป็นตัวอย่างแนวทางการศึกษาในวันต่อไป
            ขั้นสรุปการเรียนรู้  
12.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ความสำคัญ  ส่วนประกอบ  และขั้นตอน
การทำข้าวหลามในท้องถิ่นรวมทั้งประโยชน์และคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะตลอดจนสรุปการนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนรู้ 
                13.  ครูมอบหมายภาระงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเภท  ลักษณะ  ส่วนประกอบ  รสชาติ  และวิธีการทำข้าวหลามในท้องถิ่นที่นักเรียนชอบ  มา 1 ชนิดต่อกลุ่ม  พร้อมเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำชิ้นงานการเขียนแนะนำข้าวหลามในท้องถิ่นมาทำในชั่วโมงต่อไป  โดยมีองค์ประกอบของชิ้นงานและข้อตกลงร่วมกันดังต่อไปนี้
                         -  เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ประหยัด คุ้มค่า หาง่ายในท้องถิ่น และมีปริมาณตามความจำเป็น    
                   -  ขนาดพื้นหลังของชิ้นงาน  20 X 30 นิ้ว  และออกแบบนำเสนอสัมพันธ์กับการสื่อความหมายและน่าสนใจ และใช้ระยะเวลาในการทำตามที่กำหนด
                   -  เขียนอธิบาย / บรรยายได้ถูกต้อง  สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ในปริมาณที่เหมาะสม คือในวงคำศัพท์ไม่น้อยกว่า  100  คำ  หรือประโยคไม่น้อยกว่า  20  ประโยค
                         -  ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการเตรียมการ
 9.  สื่อและแหล่งเรียนรู้
สื่อ 
1.  รูปภาพข้าวหลามในท้องถิ่น
2.  ใบความรู้ เรื่อง Local  product  :   Khao  Lam
3.  แบบฝึกหัด เรื่อง  Local  product  :   Khao  Lam
แหล่งเรียนรู้   
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรื่อง  การทำข้าวหลาม
10.  การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผลด้าน
วิธีการวัด
เครื่องมือที่ใช้
เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้
1.  อ่านใบความรู้เรื่อง  Khao Lam  แล้วบอกรายละเอียดขั้นตอนการทำข้าวหลามได้ด้านทักษะ
2 . อ่านออกเสียงเนื้อหาเรื่อง Khao Lam ได้ถูกต้อง
 3. มีทักษะในการทำงานกลุ่ม
ด้านคุณลักษณะ
4. นักเรียนมีวินัย  ใฝ่เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง   


- ตรวจแบบฝึกหัด  



-ประเมินการอ่านออกเสียง
 -ประเมินการทำงานกลุ่ม

-ประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์



- แบบฝึกหัดเรื่อง
Khao  Lam


- แบบประเมิน
การอ่านออกเสียง
-แบบประเมินการทำงานกลุ่ม

-แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60  ขึ้นไป
ผ่านระดับคุณภาพดี  ขึ้นไป
ตอบถูได้ 1 ตอบผิดได้ 0



เกณฑ์การประเมิน
การอ่านออกเสียง
เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

ตามเกณฑ์การประเมิน
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์

เกณฑ์การประเมินการอ่านออกเสียง

องค์ประกอบ
การประเมิน
เกณฑ์การประเมิน  น้ำหนักคะแนน
คะแนน
รวม
3
2
1
1. การเว้น
วรรคตอน
-
เว้นวรรคตอนบกพร่องเล็กน้อยแต่ไม่ทำให้สื่อความหมายผิด
เว้นวรรคตอนผิดบ่อยครั้งทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมาย
ของประโยคผิด
2
2. ความ
คล่องแคล่ว
-
อ่านได้คล่องแคล่วมากขึ้น อาจจะสะดุดเล็กน้อยแต่ไม่ทำให้การสื่อความหมายผิดไป
อ่านยังไม่เร็วและ
ไม่คล่องแคล่ว  
2
3. การออกเสียง
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจนเล็กน้อย แต่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ดี         
อ่านออกเสียงมักจะผิดทำให้ผู้ฟังสับสนต้องตั้งใจฟังจึงจะเข้าใจ
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน             
3
4. ความถูกต้อง
อ่านออกเสียงคำ ประโยคได้ถูกต้อง                                  
อ่านออกเสียงคำ ประโยคผิดเพียงเล็กน้อยแต่สามารถแก้ไขใหม่ได้                                  
อ่านออกเสียงคำประโยคผิดมาก ทำให้ผู้ฟังสับสน
3
รวม
10
เกณฑ์การตัดสินผลคะแนน
คะแนนเต็ม  10  คะแนน
การสอบผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์  โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ  60   เป็นดังนี้
                สอบผ่านเกณฑ์ คือ  คะแนนรวมตั้งแต่  6 - 10  คะแนน
            สอบไม่ผ่านเกณฑ์ คือ  คะแนนรวมตั้งแต่  0 5.9  คะแนน
การแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ย
                        ช่วงคะแนน                                ผลการประเมิน  
                        8 10              ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับสูง
                        6 7.9              ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับปานกลาง   
                        0 5.9             ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงอยู่ในระดับต่ำ

เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

 องค์ประกอบการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน  น้ำหนักคะแนน
คะแนน
รวม
4
3
2
1
การวางแผน
การทำงานกลุ่ม
 
-
กำหนดขั้นตอน กิจกรรม และมอบหมายงานไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ  เหมาะสมกับเวลาและบุคคล
กำหนดขั้นตอน กิจกรรม ไว้ล่วงหน้า แต่ขาดการมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่ม
ขาดการวางแผนงานร่วมกันไว้ล่วงหน้า
3
การปฏิบัติ
งานกลุ่ม

ปฏิบัติงานกลุ่มตามขั้นตอน และภาระงานที่ได้รับ มอบหมาย อย่างเป็นระบบ  ผลงานเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดเวลา
ปฏิบัติงานกลุ่มตามขั้นตอน และภาระงานที่ได้รับ มอบหมาย ผลงานเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้เวลามากกว่าที่กำหนด
ปฏิบัติงานร่วมกันภายใน
กลุ่ม  ผลงานเสร็จ โดยใช้เวลามากกว่าที่กำหนด
ปฏิบัติงานร่วมกันภายใน
กลุ่ม  มีผลงานส่งแต่ส่งล่าช้า
(นอกเวลาเรียน)
 4
 รับผิดชอบ
ในการปฏิบัติ
งานกลุ่ม
-
ร่วมคิดวางแผน และปฏิบัติงานกลุ่มอย่างเป็นระบบ ทุกขั้นตอน  
ร่วมปฏิบัติงานกลุ่มทุกขั้นตอน  
ร่วมปฏิบัติงานกลุ่มโดยครูต้องตักเตือน   
3
รวม
10

เกณฑ์การตัดสินผลคะแนน 
การประเมินผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์  โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ 60  เป็นดังนี้ 
                ผ่านเกณฑ์ คือ  คะแนนรวมตั้งแต่  6 - 10  คะแนน
            ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ คะแนนรวมตั้งแต่  0- 5.9  คะแนน
การแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ย
                        ช่วงคะแนน                                ผลการประเมิน  
                            8-10                                     มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีเยี่ยม
                            6-7.9                                                มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี
                            0-5.9                                                มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับต้องพัฒนา

เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

องค์ประกอบการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน  น้ำหนักคะแนน
คะแนน
รวม
4
3
2
1
มีวินัยใน
การเรียน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ทำกิจกรรม  ส่งงานครบถ้วน  ตรงตามเวลา
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ปฏิบัติกิจกรรม  ส่งงานช้ากว่าเวลาที่กำหนด
เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายถูกต้อง  แต่ได้รับการตักเตือนจากครูให้ทำกิจกรรม    
เข้าเรียนช้า
แต่งกายไม่ถูกต้อง   ครูได้ตักเตือน 
ให้ทำกิจกรรม    
4
ใฝ่เรียนรู้

-
กระตือรือร้นใน
การสืบค้นข้อมูล
ทำกิจกรรม และพัฒนางานด้วยตนเองสม่ำเสมอ 
สืบค้นข้อมูลและ
ทำกิจกรรมและ
ทำงานด้วยตนเอง
                  
สืบค้นข้อมูลและทำงานโดยได้รับการตักเตือนจากครู   
        
 3
เรียนรู้อย่างพอเพียง
-
ออกแบบชิ้นงาน/  วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ  และทำชิ้นงาน/ทำกิจกรรมได้สำเร็จ / สมบูรณ์และคุ้มค่าตามเวลาที่กำหนด
ออกแบบชิ้นงาน/  วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ  และทำชิ้นงาน/ทำกิจกรรมได้สำเร็จ 
ทำกิจกรรม /ทำชิ้นงาน ตามที่กำหนดแต่ไม่สมบูรณ์
3
รวม
10

เกณฑ์การตัดสินผลคะแนน 
การประเมินผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์  โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ 60  เป็นดังนี้ 
                ผ่านเกณฑ์ คือ  คะแนนรวมตั้งแต่  6 - 10  คะแนน
            ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ คะแนนรวมตั้งแต่  0- 5.9  คะแนน
การแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ย
                        ช่วงคะแนน                                ผลการประเมิน  
                            8-10             มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีเยี่ยม
                            6-7.9                        มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดี
                            0-5.9                        มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับต้องพัฒนา
11.  ครูผู้สอนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร  ในขั้นเตรียมการสอน/การจัดการเรียนรู้

ประเด็น
หลักพอประมาณ
หลักมีเหตุผล
หลักสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
สื่อ
-มีสื่ออุปกรณ์เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
-เพื่อเป็นสื่อกลางที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างชัดเจน
-การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมาย
เวลา
-จัดเวลาให้เหมาะสมเพียงพอกับกิจกรรม
การเรียนการสอน
-ครูสอนตรงตามแผนที่กำหนดไว้
-ครูสอนได้ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วัสดุ / อุปกรณ์
-จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ได้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวชี้วัด
-ทำให้ครูได้นำวัสดุการสอนมาใช้เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนง่ายขึ้น
-วัสดุ อุปกรณ์  ช่วยให้
การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เนื้อหา
-จัดเนื้อหาให้สอดคล้อง กับความสามารถของผู้เรียน
-ครูนำเนื้อหาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ตรงกับตัวชี้วัด
-จัดเนื้อหาตรงตามหลักสูตรที่กำหนด
กิจกรรมการเรียน
-ใช้กระบวนการกลุ่ม
-ครูสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดการเรียนการสอนได้ตามขั้นตอน
-บรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
ความรู้     - ครูผู้สอนมีความรู้เรื่องการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยพอเพียง
                - ครูผู้สอนมีความรู้เรื่องการใช้คำศัพท์ ประโยค และโครงสร้างภาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ
การทำอาหาร 
คุณธรรม  - ครูมีความขยันเตรียมการ  ใฝ่เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง  รักเมตตาต่อศิษย์  รอบคอบ  และประหยัด   

12.  การประเมินผลลัพธ์

         ด้าน
วัด
อยู่อย่างพอเพียง...สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
วัตถุ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม
ความรู้
-มีความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษในการพูดและเขียนแนะนำผลผลิตของท้องถิ่น
-มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ในท้องถิ่นในการทำชิ้นงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และเหมาะสมกับชิ้นงาน
- มีความรู้ในการทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม
-มีความรู้ในการนำเสนองาน
-การวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการกลุ่ม
-มีความรอบรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
-รู้ผลกระทบของการใช้ภาษาอังกฤษในท้องถิ่น
-การเรียนรู้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
-เห็นคุณค่าของภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
ทักษะ
-มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน
-มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างประหยัดและคุ้มค่า
- เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม
-มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-

- ดำรงตนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน
-มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้สอดคล้องกับวัฒนธรรม
ค่านิยม
- ใช้วัสดุในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า

-ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
-เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความสามัคคีในหมู่คณะ   
-มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด
-สืบสานการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-การใช้แหล่งเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
 


IV ปฏิบัติการ การประเมิน
เรื่อง  หลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

แบบจำลองแบบประเมินแบบ CIPP
                สตัฟเฟิมบีม(Daniel L.Stufflebeam.1985) ได้เสนอแนวคิดการประเมินโครงการ เพื่อการตัดสินใจยุติหรือดำเนินการโครงการต่อไป แนวคิดการประเมินนี้รู้จักกันชื่อ CIPP Model เป็นกระบวนการจำแนก รวบรวมและเสนอข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของความมุ่งหมาย การออกแบบหรือการวางแผนงานดำเนินงานและแผนงานโครงการใดโครงการหนึ่งเพื่อเป็นแนวในการตัดสินใจของผู้รับผิดชอบ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น สตัฟเฟิลบีม ได้กำหนดประเด็นการประเมินออกเป็น
                1. การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation : C)
                เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณา หลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ การกำหนดประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
                2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I)
                เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณา การเลือกแผนงานโครงการ อันเนื่องมาจากความพร้อมของปัจจัยนำเข้า โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน
                3. การประเมินกระบวนการ(Process Evaluation : P)
                เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณา เพื่อหาจุดเด่นจุดด้อย และประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องของกระบวนการของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (Strengths) และจุดด้อย (Weakness) ของนโยบาย / แผนงาน
                4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P)
                เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณาเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ ในระเริ่มแรกการประเมินผลแบบนี้มิได้ให้ความสนใจ เรื่องผลกระทบ (Impact) และผลลัพธ์ (Outcome) ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการ ต่อมาสตัฟเฟิลบีมได้เพิ่มแนวคิดการประเมินในเรื่องดังกล่าว แบบจำลองการประเมินแบบ CIPP



แบบประเมินความสมบูรณ์ของหลักสูตร

ชื่อ-สกุล...........................................................ตำแหน่ง...........................................................   
คำชี้แจง  ให้ทำเครื่องหมายถูกในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน
รายการประเมิน
เหมาะสมดีแล้ว
ควรปรับปรุง
1เอกสารหลักสูตร
     1. เนื้อหาสาระ
      1.1  ความสอดคล้องกับจุดประสงค์
      1.2  ความยากง่ายของคำศัพท์
      1.3  ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
      1.4  ความถูกต้องเชื่อถือได้
      1.5  ความเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
      1.6  ความน่าสนใจของเนื้อหาสาระ
      ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................

    2.  แนวการจัดการเรียนการสอน
     2.1 เหมาะสมกับเนื้อหา
     2.2 เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน
     2.3  นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
     ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
     3. สื่อประกอบการเรียนการสอน
     3.1  ความเหมาะสมกับเนื้อหา
     3.2  ความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
     3.3  ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
     3.4  ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
     3.5  ความยากง่ายในการนำไปใช้
     ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................





รายการประเมิน
เหมาะสมดีแล้ว
ควรปรับปรุง
      4. การวัดผลและการประเมินผล
      4.1  ความสอดคล้องกับจุดประสงค์
      4.2  ความเหมาะสมกับเนื้อหา
      4.3  เครื่องมือที่ใช้วัดครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัด
      4.4  ความเป็นไปได้ในการนำวิธีและเครื่องมือในการวัดผลและประเมินผล
             ไปใช้
      ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
2. เอกสารประกอบหลักสูตร
      คู่มือครู
     1.1  ความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา
     1.2  ภาษาที่ใช้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย
     1.3  ความสะดวกในการนำไปใช้
    ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
      แผนการสอน
ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข
    ...............................................................................................................
   ................................................................................................................      
   ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
   ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
   ...............................................................................................................
   ................................................................................................................
   ...............................................................................................................
   ................................................................................................................





  






























  























































                             






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น